วิธีการเลือกซื้อตู้เย็นอย่างชาญฉลาด

แบบไหนเหมาะกับเราที่สุด


วิธีพิจารณาและเลือกซื้อตู้เย็นอย่างชาญฉลาด เพื่อให้ได้คุณสมบัติตาม ขนาด ราคา รูปแบบ และการประหยัดไฟ ที่ทำให้คุณใช้งานได้อย่างคุ้มค่าและบอกลาการค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นไปซะ
เมื่อคิดจะซื้อตู้เย็นสักเครื่อง คำถามแรกของใครหลายคนก็คงจะไม่พ้นคำถามที่ว่า “ยี่ห้อไหนดี” ใช่ไหมล่ะคะ แต่ถ้าจะให้ดีจริง ๆ ควรพิจารณากันที่หลักการทำงาน ขนาด ราคา รูปแบบ 1 ประตู 2 ประตู หรืออื่น ๆ และการกินไฟมากกว่า เพราะข้อจำกัดเหล่านี้คือ วิธีการที่จะช่วยให้คุณตัดสินใจเลือกตู้เย็นที่ตอบโจทย์ตู้เย็นกับความต้องการ และความเหมาะสมในการใช้งานของคุณได้มากที่สุด วันนี้กระปุกดอทคอมเลยนำวิธีเลือกตู้เย็นมาฝากกันค่ะ เพื่อให้คนที่กำลังจะซื้อตู้เย็นได้นำไปพิจารณาเลือกเครื่องที่เหมาะสมที่สุด

วิธีการเลือกซื้อตู้เย็น
1. เลือกที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5
เหนือสิ่งอื่นใดในการเลือกเครื่องใช้ไฟฟ้า จะต้องคำนึงถึงการประหยัดไฟเป็นลำดับแรก ดังนั้นเราควรเลือกซื้อตู้เย็นที่มีสติ๊กเกอร์ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 กำกับ เพราะจะช่วยให้ประหยัดไฟได้มากกว่า แต่ถ้าเป็นตู้เย็นที่มีตัวเลขต่ำกว่า 5 ลงไปก็จะยิ่งกินไฟเยอะและมีคุณภาพที่ด้อยลงไป เช่น เบอร์ 1 คือระดับต่ำสุด เบอร์ 2 คือระดับพอใช้ เบอร์ 3 คือระดับปานกลาง เบอร์ 4 คือระดับดี และเบอร์ 5 คือระดับดีมาก ถ้าเปรียบเทียบเบอร์ฉลากกับค่าไฟที่ต้องเสียรายปีได้ ดังนี้
- ตู้เย็นฉลากเบอร์ 3 : กินไฟ 332 หน่วย/ปี ต้องเสียค่าไฟประมาณ 840 บาท/ปี
- ตู้เย็นฉลากเบอร์ 4 : กินไฟ 262 หน่วย/ปี ต้องเสียค่าไฟประมาณ 644 บาท/ปี
- ตู้เย็นฉลากเบอร์ 5 : กินไฟ 220 หน่วย/ปี ต้องเสียค่าไฟประมาณ 573 บาท/ปี
2. สังเกตจากรายละเอียดข้อมูล
ถึงแม้ข้อสังเกตนี้จะเป็นมาตรฐานทั่ว ๆ ไปที่ใช้ในการพิจารณากัน แต่ก็พลาดไม่ได้เลยนะคะ นั่นก็คือ ตู้เย็นจะต้องมีตราชื่อผู้ผลิตและเครื่องหมายการค้าที่ชัดเจน มีฉลากระบุรายละเอียดของประเภท รหัสรุ่น ปริมาตรภายใน และวงจรไฟฟ้าที่ครบถ้วน รวมไปถึงคู่มือแนะนำตู้เย็น อย่างเช่น รายละเอียดของตู้เย็น วิธีการใช้ วิธีการติดตั้ง อุปกรณ์ควบคุม การทำความสะอาด และการบำรุงรักษาไว้ด้วย
***ข้อมูลเพิ่มเติม : ถ้าจะให้ดีควรเลือกตู้เย็นที่มีฉนวนกันความร้อนหนาชนิดโฟมอัด ช่วยกักเก็บความเย็นได้ดี และเลือกตู้เย็นที่ใช้ระบบไฟฟ้า 220-330 โวลต์ เพราะเป็นระบบไฟฟ้าที่เหมาะสมกับบ้านเรา
3. ขนาดความจุที่เหมาะสมกับการใช้งาน
ขนาดความจุของตู้เย็นคือ จุดหลักที่ต้องคำนึงก่อนเลือกซื้อ หน่วยวัดขนาดของตู้เย็นเรียกว่า “ลูกบากศ์ฟุต” หรือ “คิว” ถ้าจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพ 1 คิวก็จะมีขนาดความจุเท่ากับถุงช้อปปิ้งตามซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป ดังนั้นหากจะวัดคร่าว ๆ จากปริมาณของที่ซื้อเข้าตู้เย็นกับขนาดคิวตู้เย็นที่ต้องการก็ได้ จะวัดจากพฤติกรรมที่ชอบซื้อของแช่แข็งมากกว่าของสดทั่วไป ก็ควรเลือกตู้เย็นที่มีช่องแช่แข็งกว้างเป็นพิเศษ หรือจะคิดค่าเฉลี่ยของจำนวนสมาชิกในบ้านกับขนาดคิวตู้เย็น อย่างเช่น
- สมาชิกมี 2 คน : ปริมาณคิวที่เหมาะสมอย่างต่ำสุดคือ 2.5 คิวขึ้นไป
- ครอบครัวขนาดกลางสมาชิก 3-4 คน : ปริมาณคิวที่เหมาะสมคือ 12-18 คิว
- ครอบครัวขนาดใหญ่สมาชิก 5 คนขึ้นไป : ปริมาณคิวที่เหมาะสมคือ 15 คิวขึ้นไป

4. ประเภทของตู้เย็นและราคา
สมัยนี้ประเภทของตู้เย็นมีให้เลือกมากมายกว่าแต่ก่อน ซึ่งต้องเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งานของแต่ละบ้าน ดังนี้
- ตู้เย็นเล็ก : เหมาะกับห้องที่มีพื้นที่น้อย อย่างเช่น หอพัก ห้องนั่งเล่น และห้องชั้นใต้ดินเป็นต้น ราคาประมาณ 4,000-6,000 บาท
- ตู้เย็น 1 ประตู : ขนาดความจุไม่มาก ด้านในมีช่องแช่แข็งและช่องแช่ธรรมดาในตัว เหมาะกับบ้านทั่วไปที่มีพื้นที่กำจัด ราคาประมาณ 5,000-7,000 บาทขึ้นไป
- ตู้เย็น 2 ประตู (ช่องแช่แข็งด้าน/ด้านล่าง) : เหมาะกับบ้านที่มีพื้นที่น้อย ราคาประมาณ 9,000-30,000 บาทขึ้นไป
- ตู้เย็น 2 ประตู (แบบซ้าย-ขวา) : มีขนาดความจุทั้งเท่ากันทั้ง 2 ด้าน เป็นช่องแช่เย็นแบบแนวตั้ง บางรุ่นมีช่องกดน้ำด้านนอก เหมาะกับห้องครัวที่มีพื้นที่กำจัด ราคาประมาณ 40,000-100,000 บาทขึ้นไป
- ตู้เย็นหลายประตู : ส่วนบนจะมีประตูทั้งด้านซ้ายและขวา และส่วนล่างจะเป็นลิ้นชักช่องผักและช่องแช่แข็ง ช่วยแยกการแช่ให้เป็นสัดส่วน ทำให้อาหารสดได้ยาวนาน และหยิบใช้งานง่าย ราคาประมาณ 50,000-160,000 บาทขึ้นไป
- ตู้เย็นประตูซ้อนประตู (door-in-door) : นวัตกรรมใหม่ที่มาพร้อมประตู 4 บาน และอีก 2 บานที่ซ้อนไว้ด้านบน เพื่อกักเก็บความเย็นและช่วยประหยัดพลังงานในการเปิดตู้เย็นหยิบของเล็ก ๆ น้อย ๆ ราคาประมาณ 149,000 บาทขึ้นไป
5. พิจารณาจากคุณสมบัติพื้นฐาน
คุณสมบัติพื้นฐานที่ว่านี้คือ ดีไซน์ภายในตู้เย็นที่ต้องเลือกให้เหมาะสม ดูทันสมัย และจัดวางสิ่งของง่าย พิจารณาได้จากส่วนประกอบหลัก ๆ ดังนี้
- ชั้นวาง : จะต้องถอด-เข้าออกได้ เพื่อให้ง่ายต่อการปรับขนาดช่องแช่และทำความสะอาด
- ลิ้นชักช่องแช่ : จะต้องมีช่องแยกภายใน เพื่อปรับอุณหภูมิให้เหมาะสมกับอาหารที่แช่
- ช่องผักและผลไม้ : จะต้องควบคุมความเย็นและชื้นอย่างเหมาะสม ให้ผักและผลไม้สดได้นาน
- ชั้นวางข้างประตู : จะต้องมีขนาดกว้างพอสมควร สามารถแช่ขวดนมและขวดน้ำต่าง ๆ ได้ดี
6. ฟีเจอร์เสริม
ฟีเจอร์เสริม คือ คุณสมบัติเพิ่มเติมในการใช้งานที่ตู้เย็นแต่ละตู้มีไม่เหมือนกัน ซึ่งจะมีหรือไม่มีก็ได้ ขึ้นอยู่กับผู้ซื้อว่าต้องการใช้งานคุณสมบัติเหล่านั้นหรือไม่
- ระบบทำความเย็นแบบคู่ (Dual-cooling system) : ช่องแช่แข็งจะกระจายลมเย็นแยกจากช่องแช่เย็นธรรมดา เพื่ออุณหภูมิช่องแช่แข็งให้มีประสิทธิภาพ
- ระบบกรองอากาศ (Air filtration) : จะมีช่องกรองอากาศแบบคาร์บอนในตัว ช่วยลดกลิ่นอับภายในตู้เย็น
- แผงควบคุมการทำงาน (Programmable control pad) : เป็นแผงปุ่มตั้งค่าอุณหภูมิ ล็อกความเย็น เช็กตัวกรอง และระดับน้ำต่าง ๆ ในเครื่อง
- ระบบประหยัดพลังงาน (Energy-saving models) : นวัตกรรมอัจฉริยะที่ช่วยให้ตู้เย็นทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่กินไฟ งดใช้พลังงานที่ไม่จำเป็น และช่วยลดค่าไฟในแต่ละเดือน
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับวิธีการเลือกซื้อตู้เย็นอย่างชาญฉาลดที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ หวังว่าคนที่กำลังมองหาและคิดที่จะซื้อตู้เย็นดี ๆ มาใช้สักเครื่อง จะนำวิธีการเหล่านี้ไปลองพิจารณากันดู เพื่อให้ได้ตู้เย็นที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุดยังไงล่ะคะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก urnurse, Ku, Central, Lazada, Lg, Homepro, Lowes และ Csmonitor


ซ่อมตู้ควมคุมอุณหภูมิ รักษาอุณหภูมิ นอกสถานที่ ทุกยี่ห้อ ทุกอาการ
ซันโย ชาร์ป ซีเมนส์ ซิงเกอร์ โตชิบา เวิล์ดพูล ซัมซุง แอลจี แอสติน่า อีเลคโทรลักซ์
เอ็มไพร์ อีฟ ฮิตาซิ ฮูฟเวอร์ เมแท็ก มิตซูบซิ จียี พานาโซนิค เอเจ
SANYO SHARP SIEMENS SINGER SMEG TOSHIBA WHIRLPOOL SAMSUNG
LG ASTINA ELECTROLUX EMPIRE EVE FAGOR GE HITACHI HOOVER MAYTAG
MITSUBISHI PANASONIC